Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8947
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจรีลักษณ์ รัตนาพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorไพลิน นิลอาญา, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-18T02:37:30Z-
dc.date.available2023-08-18T02:37:30Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8947-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนความมีวินัยในตนเองของเด็กออทิสติก ระดับปฐมวัยกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวทางกิจกรรมบำบัดเพื่อพัฒนาความมีวินัย ในตนเอง (2) เปรียบเทียบคะแนนความมีวินัยในตนเองเป็นรายด้าน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมีระเบียบแถว ด้านการเก็บของให้เป็นที่และด้านการรักษาเวลาของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัยกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวทางกิจกรรมบำบัด และ (3) วิเคราะห์พฤติกรรมความมีวินัยในตนเองจากการสังเกต เป็นรายด้าน 3 ด้าน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวทางกิจกรรมบำบัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายใน การวิจัยเป็นเด็กนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นบุคคลออทิสติก โดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งมีอายุ ตั้งแต่ 4 - 6 ปี จำนวน 6 คน และได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติในระดับปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 –3 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลจารุเวช กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวทาง กิจกรรมบำบัด จำนวน 15 กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมเพื่อพัฒนาความมีวินัย ในตนเอง 3 ด้าน คือ ด้านการมี ระเบียบแถว ด้านการเก็บของให้เป็นที่ และด้านการรักษาเวลา (2) แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัย ในตนเองของ เด็กออทิสติกรับปฐมวัย และ 3) แบบบันทึกพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีของวิลคอกซัน เพื่อการทดสอบสมมุติฐาน ส่วนการวเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวทางกิจกรรมบำบัดเด็กออทิสติกมี คะแนนความมีวินัยในตนเองสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตาม แนวทางกิจกรรมบำบัดเด็กออทิสติกมีคะแนนความมีวินัย ในตนเองสูงขึ้นทั้ง 3 ด้านประกอบด้วยด้านการมี ระเบียบแถว ด้านการเก็บของให้เป็นที่และด้านการรักษาเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) จาก การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของเด็กออทิสติก พบว่าเด็กออทิสติกมีพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองสูงขึ้นทุก ด้าน ประกอบด้วยด้านการมีระเบียบแถว เด็กออทิสติกสามารถเข้าแถวได้ดีขึ้น ควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบ แถวได้ ด้านการเก็บของให้เป็นที่ เด็กออทิสติกสามารถเก็บของใช้ส่วนตัวเก็บของเล่น ให้เป็นที่ได้ดีและตรง ตำแหน่งมากขึ้น และด้านการรักษาเวลา เด็กออทิสติกสามารถรักษาเวลาในการเล่นและเรียนได้ดี ทำงานที่ได้รับ มอบหมายเสร็จตามเวลาที่กำหนด ยอมรับและทำตามเงื่อนไข ข้อตกลงต่าง ๆ ได้ดีขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.161en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเด็กออทิสติก -- การศึกษาและการสอนth_TH
dc.subjectการแนะแนวการศึกษาth_TH
dc.titleผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวทางกิจกรรมบำบัดเพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัยth_TH
dc.title.alternativeEffects of using a guidance activities package based on therapeutic activity approach to develop self-disciplines of Autism Preschool Childrenth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to compare the levels of self-discipline of autistic preschool children in the experimental group before and after using a guidance activities package based on therapeutic activity approach to develop their self-discipline; (2) to compare the scores of three specific aspects of self-discipline, namely, line regulation, keeping things in their proper places, and punctuality of autistic preschool children before and after using the guidance activities package based on therapeutic activity approach to develop their self-discipline; and (3) to analyzed their observed self-discipline behaviors in the three specific aspects before and after using the guidance activities package. This research was a quasi-experimental research with the One Group Pretest-Posttest Design. The research sample consisted of six purposively selected preschool children, aged 4-6 years and diagnosed as being autistic by the doctor, who had been studying with normal preschool children in the first year to third year kindergarten classes during the 2015 academic year at Jaruwech Kindergarten in Bangkok Metropolis. The employed research instruments were (1) a guidance activities package based on therapeutic activity approach comprising 15 activities to develop three specific aspects of self-discipline: line regulation, keeping things in their proper places, and punctuality; (2) an observation form for observing self-discipline behaviors; (3) a behavior recording form. Quantitative data were statistically analyzed using the percentage, mean, standard deviation, and Wilcoxon signed ranks test for hypothesis testing; while qualitative data were analyzed with content analysis. Research findings showed that (1) after using a guidance activities package based on therapeutic activity approach, the self-discipline score of autistic preschool children were significantly increased at the .05 level of statistical significance; (2) after using the guidance activities package based on therapeutic activity approach, the autistic preschool children’s selfdiscipline scores in all three specific aspects, namely, line regulation, keeping things in their proper places, and punctuality were significantly increased at the .05 level of statistical significance; and (3) from analysis of the autistic preschool children behaviors, it was found that their level of self-discipline behaviors were higher in all aspects: in the aspect of line regulation, they could maintain better order while standing in their lines; in the aspect of keeping things in their proper places, they could better keep their toys in their proper places; and in the aspect of punctuality, they could better keep their toy in their proper places; and in the aspect of punctuality, they could better keep their times in playing and learning, better complete their assigned tasks within the time limits, and better accept and follow the conditions and agreementsen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151232.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons