Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8951
Title: การสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
Other Titles: Synthesis of results of the external quality assessment, Round 3 (B.E. 2554-2558), of schools under Chiang Mai Primary Education Service Area Office 2
Authors: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีราภรณ์ กาใจ, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การประเมินผลทางการศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 (2) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะของการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของสถานศึกษา (3) ศึกษานวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ดีของสถานศึกษา และ (4) ศึกษาการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ประชากร คือ รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 123 โรงเรียน และผู้บริหาร จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามการนำผลการประเมินภายนอกรอบสามไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) การสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ในภาพรวมจำแนกตามระดับสถานศึกษา พบว่า สมศ. ให้การรับรอง สถานศึกษาระดับปฐมวัย ร้อยละ 97.65 สมศ. ให้การรับรองสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 58.53 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โรงเรียนที่ สมศ. ให้การรับรอง ร้อยละ 66.67 เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำแนกตามที่ตั้ง สมศ. ให้การรับรอง โรงเรียนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้เมือง ร้อยละ77.78 เมื่อจำแนกตามมาตรฐานตัวบ่งชี้ ระดับปฐมวัย กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานและกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรฐานการส่งเสริม ได้ระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 56.32 และ 47.70 ตามลำดับ ส่วนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ได้ระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 63.01 และ 56.50 ตามลำดับ (2) ผลการสังเคราะห์ข้อเสนอแนะของการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม พบว่า ระดับปฐมวัย ควรพัฒนาเด็กในด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม สุขภาพ สุขนิสัยตามวัย จัดกิจกรรมที่มีความปลอดภัย และจัดบุคลากรที่มีความรู้ด้านปฐมวัย ส่วนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรส่งเสริมด้านสุขอนามัยที่ดี ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านการอ่าน การเขียน การคิดแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีการนิเทศติดตามอย่างสม่ำเสมอ ควรพัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน และมีการประเมินคุณภาพภายในจากสถานศึกษาและต้นสังกัด (3) การศึกษานวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ดีของสถานศึกษา พบว่า ด้านผู้เรียน ใช้วิธีการสอนแบบโครงงาน ด้านส่งเสริมด้านอาชีพ โครงการบ่อแก้วโมเดล ด้านจริยธรรมคุณธรรม โครงการยุวทูตความดี ด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน โครงการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและท้องถิ่น ด้านผู้บริหาร การบริหารแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบ “จิราธิวัฒน์” และ (4) การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า การนำผลการประเมินไปใช้ในด้านกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานมีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ นำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ร้อยละ 89.34 รองลงมา คือ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และระบบการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด ร้อยละ 88.71 กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือนำไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ร้อยละ 82.81 กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ นำไปส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป ร้อยละ 86.99
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8951
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151287.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons