กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8952
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโปงลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of electronic learning packages on the topic of nouns with contents presented in the forms of folk tales and Central Thai Language Tales for Prathom Suksa IV Students in Pong Lang Educational quality development network schools under Kalasin Primary Education service Area office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เวียงศักดิ์ สารฤทธิ์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ภาษาถิ่น -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คำนาม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโปงลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน (3) เปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน และ (4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโปงลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 39 คน รวม 78 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นและนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นมีประสิทธิภาพ คือ 81.27/82.23 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน มีประสิทธิภาพ คือ 81.23/82.22 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่น มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐานมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐานไม่แตกต่างกัน และ (6) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำนาม ในนิทานที่ใช้ภาษาถิ่นกับนิทานที่ใช้ภาษามาตรฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8952
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151534.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons