กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8965
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนบุคคลและความคิดเชิงบวกที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Personal characteristics and positive thinking factors affecting happiness in work performance of Nakhon Pathom City Municipality Employees
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิระสุข สุขสวัสดิ์
จุฑามาส โหย่งไทย, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วัลภา สบายยิ่ง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ความคิดทางบวก
ความสุข
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเชิงบวกและระดับความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม และ (2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและความคิดเชิงบวกที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในเทศบาลนครนครปฐม ปี พ.ศ.2558 จำนวน 320 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบวัดความคิดเชิงบวก และ (2) แบบวัดความสุขในการทำงาน โดยมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .96 และ.93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พนักงานเทศบาลนครนครปฐม ปี 2558 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมของความคิดเชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของความสุขในการทำงานอยู่ในระดับสูง และ (2) ตัวแปรความคิดเชิงบวกด้านการสำรวมความตั้งใจ ด้านความสุขุม ด้านความกระตือรือร้น และด้านความเชื่อ มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานและสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทำงานได้สูงถึงร้อยละ 46 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ทำนายได้คือ Z’ = .28Z10+ .27Z9+ .15Z2+ .11Z3 และ ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงาน และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ตัวแปรความคิดเชิงบวก และตัวแปรพนักงานอายุน้อยกว่า 30 ปี โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลนครนครปฐมได้สูงถึงร้อยละ 44 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ทำนายได้คือ Z = .64Zpl - .20Zage1
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8965
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152059.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons