กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8966
ชื่อเรื่อง: | ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมที่มีต่อความสามัคคีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using a guidance activities package based on the behaviorism theory on unity of Mathayom Suksa II students at Khlung Ratchadapisake School in Chanthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิธิพัฒน์ เมฆขจร จารุวรรณ ว่องไวลิขิต, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ลัดดาวรรณ ณ ระนอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ความสามัคคี--การสอนด้วยสื่อ ความสามัคคี--กิจกรรมการเรียนการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามัคคีของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยม (2) เปรียบเทียบความสามัคคีของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและ (3) เปรียบเทียบความสามัคคีของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยม กับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน ขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มจากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คนแล้วกำหนดโดยสุ่มให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาความสามัคคี และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น กลุ่มควบคุมที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบวัด ความสามัคคี มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .98 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาความสามัคคี และ (3) ชุดกิจกรรมแนะแนว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยม นักเรียนกลุ่มทดลอง มีความสามัคคีสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยม มีความสามัคคีสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ในระยะติดตามผลนักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามัคคีสูงขึ้นกว่าระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8966 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152071.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License