กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8970
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of an electronic learning package in the arts learning area on the topic of life reflecting visual arts for Prathom Suksa VI students of schools in Chom Thong District under Bangkok Metropolitan Administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ จรรยา ชะอุ่มวงค์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วาสนา ทวีกุลทรัพย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ศิลปะ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) สื่อการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์) สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 13 บทบาทของงานทัศนศิลป์ในชีวิตและสังคม หน่วยที่ 14 อิทธิพลของศาสนาที่มีต่องานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น และหน่วยที่ 15 อิทธิพลทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ (2) แบบ ทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 80.11/81.33, 80.92/81.67 และ 81.33/82.00 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วย ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ มีความคิดเห็นว่าชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8970 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152370.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 50.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License