กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8972
ชื่อเรื่อง: | ผลของการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่มีผลต่อความกล้าแสดงออกทางความคิดของพนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานกับชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using group counseling based on behaviourism theory on assertive thinking of Thai Practitioners working with international colleagues in Bangkok Metropolitan Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิธิพัฒน์ เมฆขจร สุลีวัลย์ สินแสนยานุกูล, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ลัดดาวรรณ ณ ระนอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การแสดงออก (จิตวิทยา) |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความกล้าแสดงออกทางความคิด ของพนักงานระดับปฎิบัติการที่ทำงานกับชาวต่างชาติ ก่อนและหลังการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฏีพฤติกรรมนิยม และ (2) เปรียบเทียบความกล้าแสดงออกทางความคิดของพนักงานระดับปฎิบัติการที่ทำงานกับชาวต่างชาติ ภายหลังการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฏีพฤติกรรมนิยมกับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการที่ทำงานกับชาวต่างชาติที่มีอายุตั้งแต่ 20-50 ปี อาศัยและทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบแบบวัดความกล้าแสดงออกทางความคิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง .91 และโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 8 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมายของวิลคอกซัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พนักงานระดับปฎิบัติการที่ทำงานกับชาวต่างชาติที่ได้เข้าโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีความกล้าแสดงออกทางความคิดสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ (2) พนักงานระดับปฎิบัติการที่ทำงานกับชาวต่างชาติมีความกล้าแสดงออกทางความคิดในระยะติดตามผลไม่แตกต่างกับระยะหลังการทดลอง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8972 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152841.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License