กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8981
ชื่อเรื่อง: | ประสบการณ์การดำเนินชีวิตด้วยหลักศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Life experience based on the five precepts principle of Samma Sikkha Sisa Asoke School students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิรนาท แสนสา หินสร้าง เครือบุตร, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิระสุข สุขสวัสดิ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก การดำเนินชีวิต--แง่ศาสนา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดำเนินชีวิตด้วยหลักศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศกจำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า ประสบการณ์การดำเนินชีวิตด้วยหลักศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 ก่อนเข้าสู่รั้วสัมมาสิกขาศีรษะโศก ประกอบด้วย 4 ประเด็นรอง คือ (1) พื้นฐานชีวิตด้านครอบครัว ประกอบด้วย โครงสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และรูปแบบการดำเนินชีวิตในครอบครัวด้วยหลักศีล 5 (2) กิจกรรมในกลุ่มเพื่อนที่เกี่ยวข้องกับศีล 5 ประกอบด้วย กิจกรรมในกลุ่มเพื่อนที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์ การลักขโมย การประพฤติผิดในกาม การพูดโกหก คำหยาบ ส่อเสียด นินทา เพ้อเจ้อ และการเสพสิ่งเสพติดของมึนเมา (3) วัดกับการอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับศีล 5 และ (4) ชีวิตของตนเองที่เกี่ยวข้องกับศีล 5 ประกอบด้วย การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การละเว้นจากการลักขโมย การละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การละเว้นจากการพูดโกหก คำหยาบส่อเสียด นินทา เพ้อเจ้อ และการละเว้นจากสิ่งเสพติดของมึนเมา ประเด็นหลักที่ 2 การเข้าค่ายคัดตัวสู่รั้วสัมมาสิกขาศีรษะอโศกประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือ (1) การทดสอบด้านวิชาการ (2) การทดสอบด้านความดี ประกอบด้วยกิจกรรมธรรมะรับอรุณ กิจกรรมสัมมาอาชีพ กิจกรรมพุงยิ้ม กิจกรรมพิชิตความสะอาด และการรักษาศีลในระหว่างเข้าค่ายคัดตัว และ (3) วันแห่ง ชัยชนะ ประเด็นหลักที่ 3 การดำเนินชีวิตด้วยหลักศีล 5 ในรั้วสัมมาสิกขาศีรษะอโศก ประกอบด้วย 4 ประเด็นรอง คือ (1) การรักษาศีลในวิถีชีวิตสัมมาสิกขาศีรษะโศก ประกอบด้วย วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับศีล 5ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับศีลในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (2) การตรวจศีลตรวจธรรม (3) การงานพื้นฐานชีวิต และ (4) การปลูกฝังศีลธรรม ประเด็นหลักที่ 4 ผลจากการดำเนินชีวิตด้วยหลักศีล 5 ประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือ (1) จิตวิญญาณใหม่ (2) เมตตาธรรมค้ำจุนโลก และ (3) รู้ศีล รู้ธรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8981 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153205.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License