กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8983
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package based on modeling technique to develop sexuality social skill of Mathayom Suksa IV students at Pibul Witthayalai School in Lop Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัชรกิจ อร่ามศรี, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
เพศศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบ (2) เปรียบเทียบระดับทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีของนักเรียนกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล และ (3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 80 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง ห้องละ 40 คน นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมด้านเพศวิถี ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมด้านเพศวิถี (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ และ (3) แบบวัดทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีโดยมีความความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ .85 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในกลุ่มทดลองมีทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีหลังการทดลองสูงกว่าทักษะดังกล่าวก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีในระยะติดตามผลสูงกว่าทักษะดังกล่าวในระยะหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ทักษะทางสังคมด้านเพศวิถีหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าทักษะดังกล่าวหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8983
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153214.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons