กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8987
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors associated with violence in the family of students at Phuket Wittayalai School in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิ่งแก้ว บุญทองแก้ว, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
ความรุนแรงในครอบครัว
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต และ (2) เปรียบเทียบความรุนแรงในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ นักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวน 357 คน ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต มีค่าความเที่ยงเท่ากับ.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต พบว่า การทำร้ายด้านจิตใจ และการทำร้ายด้านร่างกายอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การทำร้ายด้านจิตใจสูงกว่าการทำร้ายด้านร่างกาย (2) การเปรียบเทียบความรุนแรงในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางจิตวิทยา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัวของนักเรียนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาของบิดา มารดา รายได้ของบิดา แตกต่างกันมีความรุนแรงในครอบครัวแตกต่างกัน ปัจจัยทางสังคม การเล่นการพนันของบิดา ปัญหาเรื่องความหึงหวงและปัญหาชู้สาวของบิดามารดา แตกต่างกันมีความรุนแรงในครอบครัวแตกต่างกัน และปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านความเครียดภายในครอบครัวของนักเรียน อยู่ในระดับน้อย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8987
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153226.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons