Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8989
Title: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในศูนย์เครือข่ายการพัฒนาการศึกษาแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Effects of using model-based learning in the topic of force and motion to develop science learning achievement and science process skills of Prathom Suksa V Students in Mae La Noi Educational Development Network, Mae Hong Son Province
Authors: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน พินสุวรรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รสสุคนธ์ รุ้งประนมกร, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- วิทยาศาสตร์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าสองแค อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 22 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ (3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8989
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153289.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons