กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9007
ชื่อเรื่อง: การเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลอื่นที่พนักงานอัยการมิได้ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในคดีอาญากรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Claiming compensation from the other person when that person has not been filed the criminal case to the court by the prosecutor, in the case of a child or a juvenile is an accused person
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา.
เดชาวัต ภูลายเหลือง, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าสินไหมทดแทน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลอื่นที่พนักงาน มิได้ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในคดีอาญากรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา มาตรฐานสากลของหลักประกันสิทธิของผู้เสียหาย ในคดีอาญาระบบการชดใช้ค่าเสียหาย แนวคิดความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของผู้อื่น และการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา ตลอดจนปัญหาข้อจำกัดของผู้เสียหาย ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายให้มีหลักประกันใน การได้รับการเยียวยาความเสียหายและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ เป็นธรรมยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการ วิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากตัวบทกฎหมาย ตำรา เอกสารทางวิชาการ คำพิพากษาและ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า สิทธิของผู้เสียหายในการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 ยังมีจำกัด เพราะผู้เสียหายไม่อาจเรียกเอาจากบุคคลอื่นที่พนักงานอัยการมิได้ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาล ในคดีอาญาได้ ซึ่งบุคคลนั้นมีความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของจำเลย และมีความสามารถใน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ลังนั้น จึงควรมีการแก้ไขกฎหมายให้ผู้เสียหายสามารถเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลอื่นที่ พนักงานอัยการมิได้ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในคดีอาญากรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลยได้ อันเป็น การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายให้มีหลักประกันในการได้รับการเขียวยาความเสียหาย และสามารถ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไต้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมยิ่งขึ้น เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ กฎหมาย และสอดคล้องกับปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับเหยื่ออาชญากรรม และการใช้อำนาจโดยมิชอบ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9007
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_144822.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons