กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9011
ชื่อเรื่อง: | การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Prosecution of victims' right to access crirminal justice system |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ นนทวรรณ ปั้นงาม, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ผู้เสียหาย ความยุติธรรม การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับ การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (2) ศึกษากฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา และการเข้าถึงสิทธิตามกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาของไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาสิทธิของผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ (4) นำผลการวิเคราะห์มาเสนอแนะแนวทางแก่ไข้ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับหลักสากล การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร ค้นคว้า และรวบรวม ข้อมูลจากตำรา บทความจากวารสารกฎหมาย การสัมมนาทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งการสืบค้นข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยตามที่บัญญัติไว่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 นั้นสอดคล้องกับหลักสากล (2) กฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศต่างก็มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (3) หากเปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ และเปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายกับผู้ต้องหาหรือจำเลย แล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายไทยไม่ได้กำหนดให้มีการแจ้งสิทธิต่าง ๆ ให้ผู้เสียหายทราบไม่ว่าในขั้นตอน ใดของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดังเช่นกฎหมายต่างประเทศ แต่สำหรับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น กำหนดให้มีการแจ้งสิทธิให้ทราบตั้งแต่ขั้นจับกุมหรือควบคุมตัว ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวย่อม ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ (4) ควรแก่ไขปรับปรุง กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีหน้าที่แจ้งสิทธิดังกล่าวให้ ผู้เสียหายทราบเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสากลต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9011 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_144898.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License