กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9012
ชื่อเรื่อง: การนำมาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The implementation of section 75 (temporarily suspend business operations) of Labour Protection Act B.E. 2541 in epidemic situation of corona virus inflections-2019 in Ayutthaya Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิภารัตน์ พิมล, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ไวรัสโคโรนา
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ปัจจัยสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำมาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) วิเคราะห์ปัญหาของการนำมาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว)ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ(3) เสนอแนวทางการพัฒนาการนามาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำมาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัจจัยทรัพยากรนโยบาย ปัจจัยการสื่อสารนโยบาย ปัจจัยความตั้งใจและการให้ความร่วมมือของผู้ปฏิบัติ ปัจจัยสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ปัจจัยลักษณะขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และปัจจัยวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของนโยบาย (2) ปัญหาของการนำมาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัญหาความไม่เพียงพอของทรัพยากร ปัญหาขาดการสื่อสารภายในและภายนอกกับองค์กรภาครัฐ ปัญหาผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจ ปัญหาสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 ปัญหาความไม่พร้อมขององค์กรขนาดเล็ก และปัญหาความไม่ชัดเจนของนโยบายและ วัตถุประสงค์นโยบาย และ (3) แนวทางการพัฒนาการนา มาตรา 75 (การหยุดกิจการชั่วคราว) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไปปฏิบัติในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ รัฐบาลควรมีนโยบายสนับสนุนเงินให้แก่สถานประกอบกิจการควรมีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน ควรมีนโยบายส่งเสริมหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ และควรปรับตัวบทกฎหมาย ให้มีความชัดเจน ไม่ซับซ้อนในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการควรมีการสื่อสารให้ลูกจ้างเข้าใจ ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมให้เกิดทักษะและมีความรู้ และควรมีการจัดทา แผนจัดการความเสี่ยงเมื่อประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น ระยะยาว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9012
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168562.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons