กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9015
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors correlated on decision making of smart phone purchasing in Muang Purchasing in Muang Petchaburi District Petchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขุมาลย์ ชำนิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บรรลูน ศิริสิงห์สังชัย, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมาร์ทโฟน--การจัดซื้อ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับ พฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (3) ระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาจากประชากร 86,343 คน ไต้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคว์สแควร์ การทดสอบค่าที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปี ขึ้นไป อาชีพ พนักงานบริษัทฯ/ลูกจ้าง และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท โดยให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดระดับมากที่สุดในด้านผลิตภัณฑ์รองลงมา คือ ด้านราคา ส่วนพฤติกรรมการซื้อ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เสือกโทรศัพท์สมาร์ทโฟนยี่ห้อ ซัมซุง เนื่องจาก สินค้ามีราคาไม่แพงมี ฟังก์ชัน การใช้งานที่จำเป็นครบถ้วน เพื่อพูดคุยและติดต่อเรื่องส่วนตัว ซื้อในช่วง ลดราคาหรือมีโปรโมชั่น โดยเป็นผู้ซื้อโทรศัพท์เองจากศูนย์ตัวแทนจำหน่าย เอไอเอส และตัดสินใจซื้อ ด้วยตัวเอง (2) เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์สมาร์ท โฟนในด้าน วัตถุประสงค์ของการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน โอกาสในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ ใครเป็นผู้ซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเครื่องที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (3) ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด แตกต่างกันในต้านช่องทางการจัดจำหน่ายและต้านการส่งเสริม การตลาด ส่วนผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด ต้านช่องทาง การจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9015
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltexy_145909.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons