กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9016
ชื่อเรื่อง: กระบวนการยุติธรรมทางเลือก : ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการ พ.ศ. 2555
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Alternative dispute resolution (ADR.) : case study on mediation and conciliation in criminal case at the stage of the public prosecutor pursuant to the rule of the office of the attorney general regarding mediation and concliliation in criminal case at the public prosecutor B.E. 2555
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
ปราณี ฉวยกระโทก, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางเลือก : ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการ พ.ศ. 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือกของต่างประเทศ (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการ (3) หาความเหมาะสมและผลสัมฤทธของการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกกรณีการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการมาใช้ในสังคมไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยทางเอกสารเกี่ยวกับกระบวนการ ยุติธรรมทางเลือกของต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์เพื่อนำมาหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา กระบวนการระจับข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการที่เหมาะสมต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการบังคับใช้ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการ พ.ศ. 2555 นั้นไม่มีกฎหมายรองรับผลของการไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาทคดีอาญากรณีที่คู่กรณีประบีประนอมยอมความกันให้มีผลเช่นเดียวกับผลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และในกรณีคดีเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการไม่มีผลอายุความสะดุดหยุดอยู่ ซึ่งเมื่อพิจารณาการไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา61/2วรรคแปด ได้บัญญํติว่า “เมื่อคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้รับข้อพิพาทไว้พิจารณาให้อายุความ ในการฟ้องร้องคดีสะดุดหยุดลง... ”ดังนั้น ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการเกิดผลสัมฤทธอย่างแห้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9016
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_144918.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons