Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอัจฉราวรรณ เคนวัน, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-22T07:28:48Z-
dc.date.available2023-08-22T07:28:48Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9019-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะการเลี้ยงดู การคบหาสมาคมกับเพื่อนที่มี พฤติกรรมเบี่ยงเบน และการควบคุมตนเองที่ส่งผลต่อการกระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและ เยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่มารายงานตัวและทำกิจกรรมเพื่อการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามคำสั่งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ในเดือน มิถุนายน ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 131 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 13–17 ปี ทุกคนเคยเสพยาเสพติด โดยยาเสพติดที่เสพมากที่สุด คือ ยาบ้า เสพมาเป็นระยะเวลา 1–6 เดือน มีความถี่ในการเสพยา ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 2) ปัจจัยลักษณะการเลี้ยงดู พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการเลี้ยงดูเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจาก มากไปหาน้อย ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบไม่ควบคุมแบบลงโทษทางจิตแบบใช้เหตุผล และแบบรักสนับสนุน 3) ปัจจัยการคบหาสมาคมกับเพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน พบว่า ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างมีการคบเพื่อนจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คบเพื่อนที่เสพยาเสพติด เพื่อนชอบเที่ยวเตร่กลางคืน เพื่อนมีพฤติกรรมหนีเรียน เพื่อนไม่เรียนหนังสือ เพื่อนไม่ประกอบอาชีพ และเพื่อนเคยถูกตำรวจจับเพราะกระทำผิดหรือถูกดำเนินคดี 4) ปัจจัยการควบคุมตนเอง พบว่า กลุ่มตัว อย่างมีลักษณะการควบคุมตนเองเรียงลำดับ ตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางกาย องค์ประกอบเกี่ยวกับงานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน องค์ประกอบเกี่ยวกับความหุนหันพลันแล่น และ องค์ประกอบเกี่ยวกับความเสี่ยง และ 5) ปัจจัยที่สามารถนำมาพยากรณ์การกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็ก และเยาวชนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยลักษณะการเลี้ยงดู และปัจจัยการคบหาสมาคมกับ เพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งปัจจัย ทั้ง สองด้านสามารถอธิบายการผันแปรการกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 9.9 มีความคลาดเคลื่อนในการ พยากรณ์เท่ากับ .732 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัว แปรทำนายสามารถนำไปสร้างสมการถดถอยเพื่อใช้ในการ พยากรณ์การกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ได้ ดังนี้ สมการรูปคะแนนดิบ Y / = 4.225 – 0.042X1-0.089X2 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z/ = -0.197(Z1) - 0.275(Z2)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2016.145en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเยาวชน -- การใช้ยาth_TH
dc.subjectความผิดในคดีเด็กและเยาวชนth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสกลนครth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting juvenile delinquents' illegal misbehaviors in cases concerning drugs of Sakon Nakhon Juvenile and Family Courtth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeResearch objective was to study personal factors, characteristics of upbringing, sociability amongst deviant behavior friends, and self-control affecting juvenile delinquents’illegal misbehaviors in cases concerning drugs of Sakon Nakhon Juvenile and Family Court. Samples were131 juveniles who were accused of delinquents’ illegal misbehaviors in cases concerning drugs, reported to do activities for remedy according to Sakon Nakhon Juvenile and Family Court, in June – July 2015, obtained from simple random sampling. Data were collected by using questionnaire. Statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and multiple linear regression analysis. Research results revealed that 1) Personal factors were found that most of samples were males, aged between 13 and 17 years. Everybody had taken drugs, mostly amphetamine, taken from 1 – 6 months, 2 times a week. 2) Characteristics of upbringing factors were found that the samples were brought up, arranged in order of high to low mean scores, as neglecting type, psychological punishment type, authoritative type and permissive type, respectively. 3) Sociability amongst deviant behavior friends factors of the samples were found that percentage arranged in order of high to low were association with drug addicted friends, night time gadabout friends, truant behaviors friends, unlettered friends, friends who have no occupation and friends who were caught because of misbehavior or prosecuted. 4)Self-control factors of the samples, from high to low mean scores, were components related to physical activities, components related to simple work, components related to impetuosity, and components related to risks and 5) The factors that predicted juvenile delinquents’ illegal misbehaviors in cases concerning drugs at .05 level of statistical significant were upbringing factors and sociability amongst deviant behavior friends factors which can explain the variability of juvenile delinquents’ illegal misbehaviors in cases concerning drugs of Sakon Nakhon Juvenile and Family Court at 9.9%. Error of prediction was.732. Regression coefficient of predictor variable can be used to develop regression equations to predict juvenile delinquents’ illegal misbehaviors in cases concerning drugs as follows; A predicting formula in terms of unstandardized scores was Y / = 4.225 -0.042X1 - 0.089X2. A predicting formula in terms of standardized scores was Z/= -0.197(Z1) - 0.275(Z2)en_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155367.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons