กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9019
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting juvenile delinquents' illegal misbehaviors in cases concerning drugs of Sakon Nakhon Juvenile and Family Court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิรนาท แสนสา
อัจฉราวรรณ เคนวัน, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วัลภา สบายยิ่ง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา-- วิทยานิพนธ์
เยาวชน--การใช้ยา
ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะการเลี้ยงดู การคบหาสมาคมกับเพื่อนที่มี พฤติกรรมเบี่ยงเบน และการควบคุมตนเองที่ส่งผลต่อการกระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและ เยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่มารายงานตัวและทำกิจกรรมเพื่อการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามคำสั่งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ในเดือน มิถุนายน ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 131 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 13–17 ปี ทุกคนเคยเสพยาเสพติด โดยยาเสพติดที่เสพมากที่สุด คือ ยาบ้า เสพมาเป็นระยะเวลา 1–6 เดือน มีความถี่ในการเสพยา ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 2) ปัจจัยลักษณะการเลี้ยงดู พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการเลี้ยงดูเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจาก มากไปหาน้อย ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบไม่ควบคุมแบบลงโทษทางจิตแบบใช้เหตุผล และแบบรักสนับสนุน 3) ปัจจัยการคบหาสมาคมกับเพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน พบว่า ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างมีการคบเพื่อนจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คบเพื่อนที่เสพยาเสพติด เพื่อนชอบเที่ยวเตร่กลางคืน เพื่อนมีพฤติกรรมหนีเรียน เพื่อนไม่เรียนหนังสือ เพื่อนไม่ประกอบอาชีพ และเพื่อนเคยถูกตำรวจจับเพราะกระทำผิดหรือถูกดำเนินคดี 4) ปัจจัยการควบคุมตนเอง พบว่า กลุ่มตัว อย่างมีลักษณะการควบคุมตนเองเรียงลำดับ ตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางกาย องค์ประกอบเกี่ยวกับงานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน องค์ประกอบเกี่ยวกับความหุนหันพลันแล่น และ องค์ประกอบเกี่ยวกับความเสี่ยง และ 5) ปัจจัยที่สามารถนำมาพยากรณ์การกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็ก และเยาวชนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยลักษณะการเลี้ยงดู และปัจจัยการคบหาสมาคมกับ เพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งปัจจัย ทั้ง สองด้านสามารถอธิบายการผันแปรการกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 9.9 มีความคลาดเคลื่อนในการ พยากรณ์เท่ากับ .732 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัว แปรทำนายสามารถนำไปสร้างสมการถดถอยเพื่อใช้ในการ พยากรณ์การกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ได้ ดังนี้ สมการรูปคะแนนดิบ Y / = 4.225 – 0.042X1-0.089X2 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z/ = -0.197(Z1) - 0.275(Z2)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9019
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155367.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons