กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9020
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ศึกษากรณีปัญหาการทำร้ายร่างกายระหว่างสามีภริยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Restorative justice : case study of wife assault |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัฎฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ ณัฐรดา ไล้ทองคำ, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การทำร้ายร่างกาย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ศึกษากรณีปัญหา การทำร้ายร่างกายระหว่างสามีภริยา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นมา แนวคิด รูปแบบ และขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ความเหมาะสม ตลอดจนข้อดีข้อเสียในการนำ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาปรับใช้ในการฟืนฟูเยียวยาการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายระหว่างสามีภริยาควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อหาแนวทางในการกำหนดรูปแบบของการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับการลงโทษผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายระหว่างสามีภริยา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิจัยจากเอกสาร ซึ่งทำการรวบรวมเอกสาร ทั้งจากตำรา หนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และผลงานทางวิชาการอื่นๆ รวมถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักในความผิด ฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ระหว่างสามีภริยามุ่งเน้นแต่เพียงการลงโทษผู้กระทำความผิดเป็นสำคัญ แม้ศาลจะมีดุลพินิจในการใช้มาตรการรอการลงโทษตามมาตรา 56 ก็ไม่ทำให้ผู้กระทำความผิดตระหนักหรือสำนึกในการกระทำของตน หรือลดความขัดแย้งระหว่างสามีภริยาได้ส่งผลกระทบต่อส้มพันธภาพอันดีระหว่างสามีภริยาในระยะยาว เนื่องจากไม่มีการฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทำความผิด รวมถึงไม่มีการเยียวยาผู้เสียหายอย่างแท้จริง แต่หากมีการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในรูปแบบการไกล่เกลี่ยระหว่าง ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดมาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักโดยมีการกำหนด แนวทางร่วมกันและบัญญัติกฎหมายรองรับการปฏิบัติงาน แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งผลให้ ผู้กระทำความผิดมีความสำนึกและรับผิดชอบในการกระทำทั้งยังสามารถรักษาส้มพันธภาพอันดี ระหว่างกันและลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขื้นในอนาคตด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9020 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_145042.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License