กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9028
ชื่อเรื่อง: อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการจัดการตามหมายจับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Power of police officers to execute the arrest warrants
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชัย ศรีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพดล ติสันเทียะ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
หมายจับ
การจับกุม
การควบคุมตัวบุคคล
ตำรวจ--การปฏิบัติหน้าที่
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการจัดการตามหมายจับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการทางอาญาในการออกหมายจับและการจัดการตามหมายจับ โดยเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการตามหมายจับตามกฎหมายของสหราชาณาจักร เยอรมนี เปรียบเทียบกับไทย ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ดุลยพินิจในการจัดการจัดการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และผู้เสียหายในคดีอาญาเกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ร่วมกัน ผลการศึกษาพบว่าการเอาตัวผู้ต้องหาที่กระทำความผิดอาญามาไว้ในอำนาจรัฐโดย การจับตามหมายจับ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อการมีตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในการพิจารณาคดีและบังกับโทษให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยเหตุที่ผู้ต้องหานั้น จะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือการไม่กำหนดเวลาเริ่มดำเนินการจัดการตามหมายจับ การไม่กำหนดเวลาการรายงาน การจัดการตามหมายจับ รวมตลอดถึงการไม่มีทีมงานโดยเฉพาะในการจัดการตามหมายจับ ตามประเภทคดีซึ่งเป็นการเปิดช่องให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถใช้ดุลยพินิจในการเลือกจัดการ ตามหมายจับได้ เป็นสาเหตุให้ผู้ต้องหาตามหมายจับที่มีความจำเป็นจะต้องเอาตัวมาควบคุมไว้ใน อำนาจรัฐไม่ได้รับการตรวจสอบตามวัตถุประสงค์และความจำเป็นในการออกหมายจับเพราะ หมายจับนั้นขาดอายุความลงไป การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมจึงขาดประสิทธิภาพส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและผู้เสียหายในคดีอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9028
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_146912.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons