Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9031
Title: การประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการประกอบหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะ
Other Titles: Application of activity-based costing for a Pick-up truck steel canopy assembly business
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
ภคมน ฉันทลักษณ์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
รถกระบะ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการประกอบหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะ (2) ศึกษาค้นทุนการประกอบหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะโดยใช้ระบบต้นทุน ฐานกิจกรรม และ(3) เปรียบเทียบต้นทุนการประกอบหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะตามระบบต้นทุนฐาน กิจกรรมกับระบบต้นทุนแบบเดิม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลต้นทุนการประกอบหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะของ บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน)โดยศึกษาเฉพาะหลังคาเหล็ก 3 แบบ คือแบบที่ 1 CAB (TDV4) แบบที่ 2 CAB (TDV2) และแบบที่ 3 HI-ROOF เครื่องมือที่ใช้ไนการศึกษาคือแบบบันทึก ข้อมูลต้นทุนและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรม โดยการวิเคราะห์กิจกรรม การระบุตัวผลักดันกิจกรรม การคำนวณอัตราต้นทุนของแต่ละกิจกรรม และการคำนวณ ต้นทุนของหลังคาเหล็กตามฐานกิจกรรมผลการศึกษา พบว่า (1) กระบวนการประกอบหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลักได้แก่ กิจกรรมประกอบ มีหน้าที่นำชิ้นส่วนหลังคาเหล็กมาประกอบตามแบบที่ลูกค้าสั่ง กิจกรรมทำสีดำเนินการพ่นสีและตรวจสอบสีหลังคารถกระบะให้ลูกต้องตามคำสั่งซื้อของลูกค้า กิจกรรม ติดตั้งอุปกรณ์ทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์หลังคารถกระบะและตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างรถ กระบะอย่างละเอียด และกิจกรรมตรวจสอบคุณภาพ เป็นขั้นตอนการตรวจสอบชิ้นงานหลังคารถกระบะ แบบที่ 1 CAB (TDV4) มีต้นทุน 32,901.84 บาทต่อหลัง แบบที่ 2 CAB (TDV2) มีด้นทุน 36,071.67 บาท ต่อหลัง และแบบที่ 3 HI-ROOF มีต้นทุน 27,333.85 บาทต่อหลัง (3) เปรียบเทียบต้นทุนการประกอบหลังคา เหล็กสำหรับรถกระบะตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกับระบบต้นทุนแบบเดิม พบว่า แบบที่ 1 CAB (TDV4) ต้นทุนฐานกิจกรรมสูงกว่าต้นทุนแบบเดิม จำนวน 9,958.51 บาทต่อหลัง แบบที่ 2 CAB (TDV2) ต้นทุนฐานกิจกรรมสูงกว่าต้นทุนแบบเดิมจำนวน 8,862.84 บาทต่อหลัง และ แบบที่ 3 HI-ROOF ต้นทุน ฐานกิจกรรมสูงกว่าต้นทุนแบบเดิม จำนวน 5,480.77 บาทต่อหลัง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9031
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_143872.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons