กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9035
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The readiness to ASEAN community of Bangkok Metropolitan administration's Civit Officials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาวิณี เที้ยวพันธ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ประชาคมอาเซียน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของข้าราชการ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ใน 50 สำนักงานเขต ที่ไม่ใช่ระดับผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น จำนวน 6,314 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแล้วกำหนดขนาดตัวอย่างในแต่ละเขตด้วยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใชัเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยถ่วงนํ้าหนัก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของข้าราชการ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเต็มใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านความเต็มใจ ลำดับแรก คือ การมีความตั้งใจในการ ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กรสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านความสามารถ ลำดับแรก คือ การมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาวัตถุประสงค์ และความสำคัญของประชาคมอาเซียน ซึ่งอยู่ในระดับมาก (2) ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่มีเพศ ตำแหน่งงานในปัจจุบัน และสถานที่ทำงานปัจจุบันแตกต่างกันมีความ พร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไม่แตกต่างกัน แต่ข้าราชการที่มีอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และประสบการณ์ การปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางการพัฒนาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่สำคัญได้แก่ การจัดบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครเข้ารับการ อบรม ประชุม สัมมนา ตลอดจนศึกษาดูงานองค์กร/หน่วยงานต้นแบบที่ประสบความสำเร็จเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดการความพร้อมสู่อาเซียน การจัดกิจกรรม หรือการอบรม/สัมมนา การจัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในทุกๆ ด้าน และการมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับอาเซียนโดยตรง เพื่อให้ผู้มีความเชี่ยวชาญมาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_140819.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons