กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9044
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of using guidance activities package Brainstorming methods for development creative problem solving ability of Phathom Suksa II Students of Thedsaban 4 (Udomwitsomjai) School in Prachinburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิระสุข สุขสวัสดิ์
เสาวนีย์ สุขสำราญ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา-- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การแก้ปัญหา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--กิจกรรมการเรียนการสอน
การแนะแนว--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ปราจีนบุรี
กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังจากการได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคระดมสมอง (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคระดมสมองและของกลุ่มควบคุมที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวปกติในระยะหลังการทดลอง และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับน้อย จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ระยะหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ไม่แตกต่างจากระยะติดตามผล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9044
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155372.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons