Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9046
Title: ผลการสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม เรื่อง แสงที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Effects of teaching Physics by STEM approach in the topic of light on science process skills and scientific attitudes of Mathayom Suksa V students of middle sized secondary schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน พินสุวรรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐายิกา ชูสุวรรณ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์
ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมขนาดกลาง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม เรื่อง แสง และ (2) เปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนดังกล่าว ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียน การสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม เรื่อง แสง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบางไทรวิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์โดยใช้แนวการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม เรื่อง แสง แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เรียนภายใต้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนดังกล่าวที่เรียนภายใต้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9046
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155376.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons