Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9047
Title: ผลของการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา
Other Titles: Effects of integrated family counseling to reduce family conflict of students in Dee Buk Phang-nga Wittayayon School, Phang-nga Province
Authors: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประภาศรี ไกรนรา, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การให้คำปรึกษาครอบครัว
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
ครอบครัว
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความขัดแย้งภายในครอบครัวของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ และ 2) เปรียบเทียบความขัดแย้งภายในครอบครัวของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ และของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา ที่มีความขัดแย้งภายในครอบครัว จำนวน 10 ครอบครัว รวม 30 คน ซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจากประชากร แล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 5 ครอบครัว จำนวนกลุ่มละ 15 คนเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ และแบบวัดความขัดแย้งภายในครอบครัว มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98 นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมเข้าว่วกิจกรรมแนะแนวตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัวมีความขัดแย้งภายในครอบครัวลดลงกว่าก่อนการให้การปรึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ภายหลังการได้รับการปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัว นักเรียนกลุ่มทดลองมีความขัดแย้งภายในครอบครัวลดลงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9047
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155377.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons