Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9051
Title: ประสบการณ์การปรับตัวของเยาวชนไทยที่ย้ายถิ่นติดตามมารดามาอาศัยอยู่ ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
Other Titles: Adaptation experience of Thai Youths who immigrated with their mothers to live in Stockholm Sweden
Authors: จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนิสา สุขีอัตตะ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การปรับตัว (จิตวิทยา) ในวัยรุ่น
การปรับตัวทางสังคม
การย้ายถิ่น
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปรับตัวของเยาวชนไทยที่ย้ายถิ่นติดตาม มารดามาอาศัยอยู่ ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เยาวชนไทย ที่ย้ายถิ่นติดตามมารดามาอาศัย อยู่ ณ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน จำนวน 7 คน ได้โดยการคัดเลือก แบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์พิจารณา คือ (1) มีบิดาบุญธรรมเป็นชาวสวีเดน (2) มีอายุระหว่าง 11–18 ปี (3) เกิดและเติบโตในประเทศไทยและย้ายมาอาศัยอยู่ประเทศสวีเดน เกินกว่า 1 ปี (4) สามารถสื่อสารภาษาไทย ได้ และ (5) ยินดีเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่ง โครงสร้าง (2) แบบบันทึกภาคสนาม (3) แบบบันทึกการสังเกต และ (4) เครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย ปรากฏว่า ประสบการณ์การปรับตัวของเยาวชนไทยที่ย้ายถิ่นติดตามมารดามา อาศัยอยู่ ณ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน พบ 4 ประเด็นหลักดังนี้ (1) ภาวะจิตใจก่อนย้ายถิ่น แบ่งเป็น ประเด็นรอง 3 ประเด็น คือ (1.1) ไม่อยากจากเมืองไทย (1.2) ห่วงใยคนข้างหลัง และ (1.3) เรื่องราว เกี่ยวกับอนาคตของตนเอง (2) อุปสรรคที่พบเจอ แบ่งเป็นประเด็นรอง 9 ประเด็น คือ (2.1) คิดถึงเมืองไทย ที่จากมา (2.2) รู้สึกด้อยค่าในสายตาคนอื่น (2.3) การมีปัญหาด้านภาษาและการสื่อสาร (2.4) ครอบครัวคือ คนแปลกหน้า (2.5) การไม่คุ้นเคยกับสังคม ผู้คนและวัฒนธรรม (2.6) ท้อแท้สิ้นหวัง กับ การเรียนที่ยาก (2.7) ขาดเพื่อนพึ่งพายามทุกข์ใจ (2.8) อาหารที่ไม่คุ้นลิ้น และ (2.9) ไม่คุ้นชินกับภูมิอากาศ (3) การปรับตัว เข้ากับสังคมใหม่แบ่งเป็นประเด็นรอง 5 ประเด็น คือ (3.1) เปิดใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (3.2) เคารพ และสร้างคุณค่าให้ตนเอง (3.3) การมีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมใหม่ (3.4) การมีกิจกรรมยามว่างเพื่อคลาย ทุกข์และหารายได้เสริม และ (3.5) การได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ และ (4) เป้าหมายของ ชีวิต แบ่งเป็นประเด็นรอง 3 ประเด็น คือ (4.1) การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ (4.2) เอื้อมมือคว้าปริญญา และ (4.3) กลับมาพัฒนาบ้านเกิด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9051
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155379.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons