กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/905
ชื่อเรื่อง: | บรรยากาศองค์การในโรงพยาบาลเซ็นทรัล เมโมเรียล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organizational climate of Central Memorial Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา ผลประเสริฐ นุชนาถ สุวรรณ์, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลเซ็นทรัลเมโมเรียล โรงพยาบาล--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บรรยากาศองค์การในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลเซ็นทรัลเมโมเรียล และ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ในบรรยากาศองค์การตามลักษณะทางประชากรด้าน อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งปัจจุบันในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและขนาดองค์กร การเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเซ็นทรัลเมโมเรียล 2 สาขา จํานวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามบรรยากาศองค์การที่ปรับจากแบบสอบถามตามแนวคิดของลิทวินและสตริงเจอร์ (Litwin & Stringer, 1968) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลีย และส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของบรรยากาศ องค์การ โดยใช้การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวรางวัลและการลงโทษ ผลการวิจัยพบว่า (1) บรรยากาศองค์การโดยรวมของโรงพยาบาลเซ็นทรัลเมโมเรียลอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับบรรยากาศองค์การอยู่ในระดับดี คือ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานและความคาดหวัง ด้านความเสี่ยงในงาน ด้านความอบอุ่น ด้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความจงรักภักดีของกลุ่ม ด้านการสนับสนุนด้านโครงสร้างองค์การและด้านความรับผิดชอบของบุคลากร ส่วนที่เหลืออีก 2 ด้าน คือ ด้านความขัดแย้งและความอดทนต่อความขัดแย้ง และด้านการให้รางวัลและการลงโทษ มีระดับบรรยากาศองค์การอยู่ในระดับพอใช้ (2) เมื่อเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การจําแนกตามลักษณะทางประชากร พบว่า บุคลากรที่มีอายุแตกต่างกัน และตำแหน่งในการปฏิบัติงานต่างกันมีการรับรู้บรรยากาศองค์การในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรตัวอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างในการรับรู้บรรยากาศองค์การจากผลการวิจัยที่ได้ มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรเสริมสร้างให้เกิดบรรยากาศองค์การในด้านความขัดแย้งและความอดทนต่อความขัดแย้งและด้านการให้รางวัลและการลงโทษ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/905 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License