กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9060
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญากับเด็กที่กระทำความผิดซ้ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enforcement problems of special measure in lieu of criminal proceedings to the recidivism juvenile
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
พชรมัณฑนา โพธิ์แก้ว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การกระทำผิดซ้ำ
วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการในการคุ้มครองสิทธิของเด็กของต่างประเทศและประเทศไทย (2) ศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวกับการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดซํ้า (3) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดซํ้าภายหลังการเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าและเก็บ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวคิดเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ มุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ (2) หลักเกณฑ์การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนพิเศษแตกต่างจากคดีธรรมดาทั่วไป มีการแก้ไขเพิ่มเติมทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูไว้ในพระราชบัญญัติศาล เยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ .ศ. 2553 หมวดที่ 7 มาตรา 86 ถึง มาตรา 94 (3) ในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2557 มีเด็กกระทำความผิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 232,496 คน เด็กที่กระทำผิดซํ้ามีจำนวนประมาณ 36,490 คน ส่วนใหญ่กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และยาเสพติดให้โทษ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีมาตรการและบทลงโทษที่ทำให้เด็กและเยาวชนที่ถุกลงโทษ มีความเกรงกลัว เข็ดหลาบ ไม่กล้ากระทำผิดซํ้าขื้นอีก ควรมีการคัดกรองเด็กที่มีพฤติกรรมที่เห็นว่า สามารถกลับตนเป็นคนดีได้ และควรมีหลักเกณฑ์ที่สามารถกำหนดขอบเขตของเด็กที่กระทำ ความผิดให้เป็นบรรทัดฐานในการควบคุมจำนวนเด็กหรือเยาวชนซึ่งอยู่ในวัยเสี่ยงต่อการกระทำ ความผิดซํ้า ไม่ให้กลับไปกระทำความผิดอีก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9060
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_149643.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons