กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9063
ชื่อเรื่อง: การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk management of Princess of Naradhiwas University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โนเรีย บินหะยีนิยิ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์--การบริหารความเสี่ยง
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานย่อยภายใต้การกำกับการบริหารของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 182 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 130 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงที่พัฒนขึ้นตามกรอบแนวคิดของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ก่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทคสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีความคิดเห็นว่ามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีการบริหารความเสี่ยงโดยรวมและทุกค้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการระบุเป้าประสงค์และกำหนดวัตถุประสงค์ โดยให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและด้านกลยุทธ์ ในระดับมาก (2) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจำแนกตาม เพศ ตำแหน่งงาน ตำแหน่งในคณะกรรมการ หน่วยงานที่สังกัด และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่งกันมีความคิดเห็นแตกต่งกันทั้งโดยรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการประเมินความเสี่ยง การประเมินมาตรการควบคุม และการติดตามและทบทวน นอกจากนี้ผู้มีตำแหน่งในคณะกรรมการที่ต่างกันมีความเห็นต่างกันในด้านการประเมินความเสี่ยง การประเมินมาตรการควบคุม และการบริหารจัดการความเสี่ยง ส่วนผู้ที่สังกัดหน่วยงานที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันในด้านการติดตามและทบทวน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9063
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_135748.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons