กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9066
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลเพื่อส่งออกในจังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of work life of employees in seafood manufacturing for export industry in Ranong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญทิพย์ เอี๋ยวสกุล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพชีวิตการทำงาน--ไทย--ระนอง
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลเพื่อส่งออกในจังหวัดระนอง และ (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลเพื่อ ส่งออกในจังหวัดระนองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรคือพนักงานสัญชาติไทยที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ทะเลเพื่อส่งออกในจังหวัดระนองจำนวน 1,567 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างสูตรของทาโร่ยามาเน่ได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 318 คนสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบในรายคู่ด้วยวิธี ผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตอาหารทะเลเพื่อส่งออกในจังหวัดระนองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเรียงลำดับตาม ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกันรองลงมาอยู่ใน ระดับปานกลาง คือ ด้านสภาพการทำงานทีมีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ด้านโอกาสในการใช้และการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ด้านการได้รับความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานด้านลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับสังคมโดยตรงและด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมตามลำดับ (2) พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลเพื่อส่งออกในจังหวัดระนองที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเงินเดือนและตำแหน่งงานที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ .05 ส่วนที่เหลือคือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9066
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_134657.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons