กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9094
ชื่อเรื่อง: ปัญหาอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีตามสัญญาประกันในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems with powers and responsibilities in the enforcement of bail contracts in criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สําเรียง เมฆเกรียงไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นนทวิภา วงษ์สกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การบังคับคดี
ค้ำประกัน
ประกันตัว
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัญหาอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีตามสัญญาประกันในคดีอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎี มาตรฐานสากลและอำนาจในการปล่อยตัวชั่วคราว และการบังคับคดีตามสัญญาประกันทั้งในและต่างประเทศ (2) ศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไขและดุลพินิจในการงดหรือลดค่าปรับผู้ประกัน ระยะเวลาบังคับคดีและผลกระทบในการบังคับคดี ผู้ประกัน (3) ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการบังคับคดีตามหลักกฎหมายเดิม และตามหลักกฎหมายที่แก้ไขใหม่ (4) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการบังคับคดีผู้ประกันตามสัญญาประกันในคดีอาญา และ (5) ศึกษาหาข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง แก้ไขปัญหาการบังคับคดีผู้ประกัน พัฒนาระบบการบังคับคดีผู้ประกัน ในคดีอาญาให้มีความชัดเจนและบังคับใช้ไค้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาข้อมูลในทางปฏิบัติและข้อบัญญัติของกฎหมายในทางเอกสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาถึงบทบาทอำนาจ หน้าที่ของผู้ดำเนินการบังคับคดีกับผู้ประกันทั้งในอดีตในส่วนอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดี ก่อนที่จะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ในช่วงที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 (ฉบับที่ 22)มีผลบังคับใช้มาตลอดจนเมื่อมีการ แก้ไขเพึ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 (ฉบับที่ 33) พ.ศ.2558 (ปัจจุบัน) บทบาทและอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (8)และตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา14(8) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังกล่าวต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ยังคงมีปัญหาไม่ความชัดเจนในเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ และภาระหน้าที่ของผู้ดำเนินการบังคับคดีทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาในการตีความตัวบทกฎหมาย อันนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมและขาดความชัดเจน จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่และภาระหน้าที่ของผู้ดำเนินการบังคับคดีให้มีความเหมาะสมและมีความชัดเจนมาก ยี่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9094
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_153531.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons