กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9095
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดของผู้ประกอบกิจการจำหน่ายตามกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The meaning of the film and video distribution business and the competent authority of the act on film and videotape
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธิดารัตน์ บัวทอง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
ความรับผิด (กฎหมาย)
การขาย--ภาพยนตร์
การขาย--วีดิทัศน์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องความรับผิดของผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.255 มีวัตถุประสงค์) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับ การคุ้มครอง และการกำกับดูแลกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ 4) เพื่อหาข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการ อื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปเพื่อทราบถึงแนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ รวมถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับความหมายของผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 61 และโทษทางอาญาตามมาตรา 38 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อวิเคราะห์หาหลักเกณฑ์และวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ความรับผิดของผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 นั้น มีกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สำคัญคือ การกำหนด ความหมายของผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ซึ๋งควรกำหนดขอบเขตเฉพาะผู้ที่ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจเท่านั้น และควรกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไป ตรวจสอบและการค้นควรมีพยานหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด และโทษทางอาญา กฎหมายกำหนดไว้เป็นโทษปรับที่มีระวางโทษสูงเมื่อคำนึงถึงลักษณะของความผิด เจตนา และพฤติกรรมในการกระทำความผิดและถือเป็นความผิดเล็กน้อย จึงควรปรับปรุงให้มีความสอดคล้อง และมีสภาพบังคับเพียงพอที่จะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างเที่ยงธรรม และมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9095
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_153537.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons