Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9113
Title: ผลกระทบในการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจภายใต้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 115/2557 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Other Titles: The effect on checks and balances under National Council for Peace and Order declaration issue 115/2557 on additional revised of criminal procedure law
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เนติภูมิ เมฆฉาย, 2530- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ดุลอำนาจ
ความเห็นแย้ง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดในการดำเนินคดีอาญา และการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างองค์กรในการควบคุมคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงาน อัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145และมาตรา 145/1 และการชี้ขาดอำนาจ สอบสวนกรณีไม่แน่ใจว่าพนักงานสอบสวนใดควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 21 และมาตรา 21/1 ว่ามีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจเหมาะสมหรือไม่ ตลอดจนเสนอแนะแนวทาง ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเก็บข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาพบว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว มีการตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจที่ไม่เหมาะสมในส่วนของการทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 จึงเสนอแนะให้แก้ปัญหาดังกล่าวโดย ในกรณีจังหวัดอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองศึอผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจทำความเห็นแย้ง ส่วนในกรุงเทพมหานคร กำหนดให้ พนักงานฝ่ายปกครอง ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้มีอำนาจทำความเห็นแย้ง ส่วนในประเด็นของผู้มีอำนาจชี้ขาดในกรณี ที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 21/1 นั้น บทบัญญัติ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อยุติปัญหาความไม่แน่ชัดของการกำหนดตัวพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เพราะหากปล่อยไว้คดีไว้โดยไม่มีกำหนดตัวพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบย่อมส่งผลให้การสอบสวน ล่าช้า และเป็นการทำลายหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เกี่ยวข้องในคดี บทบัญญัติตามมาตรา 21/1 จึงไม่เป็นการขัดต่อหลักการถ่วงดุลและตรวจสอบอำนาจ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9113
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_156617.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons