Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9126
Title: | ความพึงพอใจของผู้รับบริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคต่อการบริการของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Patient satisfaction in project thirty bath treat all disease to Uttaradit hospital service |
Authors: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ วราพร จันทร์ศรีทอง, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ต่อการบริการของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ต่อการบริการของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความพึงพอใจต่อบริการ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าถึงบริการกับความพึงพอใจต่อบริการของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ วิธีการศึกษาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยศึกษาจากผู้มารับบริการ ในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในเดือนกันยายน 2546 จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้านได้แก่ ค้านพฤติกรรมบริการเชิงวิชาชีพของผู้ให้บริการ ด้านลักษณะบุคลิกภาพของผู้ให้บริการ ด้านสัมพันธภาพที่จริงใจของผู้ให้บริการ ด้านสัมพันธภาพในการให้ความรู้ของผู้ให้บริการ และด้านความสะดวกที่ได้รับจากการบริการและคุณภาพบริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPsspC ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรด มีความพึงพอใจต่อบริการโดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการทุกค้านอยู่ในระคับมาก โดยค้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ค้านพฤติกรรมบริการเชิงวิชาชีพของผู้ให้บริการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 รองลงมาคือค้านลักษณะบุคลิกภาพของผู้ให้บริการ และความสะดวกที่ได้รับจากบริการและคุณภาพบริการ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อบริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากเกือบทุกข้อ ส่วนความพึงพอใจที่อยู่ในระดับปานกลางมีเพียง 2 ข้อ คือ การบริการของโรงพยาบาลไม่ต้องรอนาน และสามารถพบพยาบาลได้ง่ายเมื่อต้องการ ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ อายุระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ ระยะทางและการคมนาคม มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9126 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
This item is licensed under a Creative Commons License