กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9126
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้รับบริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคต่อการบริการของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Patient satisfaction in project thirty bath treat all disease to Uttaradit hospital service
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราพร จันทร์ศรีทอง, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ต่อการบริการของโรงพยาบาลอุตรคิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอ ใจของผู้รับบริการในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ต่อการบริการของโรงพยาบาลอุตรคิตถ์ เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความพึงพอใจต่อบริการ และเพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างการเข้าถึงบริการกับความพึงพอใจต่อบริการของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ วิธีการศึกษาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยศึกษาจากผู้มารับบริการ ในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในเดือนกันยายน 2546 จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ค้านพฤติกรรมบริการเชิงวิชาชีพของผู้ให้บริการ ด้านถักษณะบุคลิกภาพของผู้ให้บริการ ค้าน สัมพันธภาพที่จริงใจของผู้ให้บริการ ด้านสัมพันธภาพในการให้ความรู้ของผู้ให้บริการ และด้าน ความสะดวกที่ได้รับจากการบริการและคุณภาพบริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPsspC ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรด มีความพึงพอใจต่อบริการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความ พึงพอใจต่อบริการทุกค้านอยู่ในระคับมาก โดยค้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ค้านพฤติกรรมบริการ เชิงวิชาชีพของผู้ให้บริการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 รองลงมาคือค้านลักษณะบุคลิกภาพของผู้ให้ บริการ และความสะดวกที่ได้รับจากบริการและคุณภาพบริการ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่าส่วน ใหญ่มีความพึงพอใจต่อบริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากเกือบทุกข้อ ส่วนความพึงพอใจที่อยู่ในระดับ ปานกลางมีเพียง 2 ข้อ คือ การบริการของโรงพยาบาลไม่ต้องรอนาน และสามารถพบแ พยาบาลได้ง่ายเมื่อต้องการ ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ ระยะทางและการ คมนาคม มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
80493.pdf2.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons