กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9128
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อการจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: European tourist satisfaction to tourism management a case study of Damnuensaduak Floating Market Rachaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันเพ็ญ แต่งตั้ง, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: นักท่องเที่ยวต่างชาติ--ไทย--ราชบุรี
นักท่องเที่ยว--ยุโรป
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อการจัดการ การท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่มาเที่ยว ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จำนวน 100 คนจาก 10 ประเทศ โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้วิเดราะห์ข้อมูล คือ ด่ารัอยละ ด่าเฉลี่ย และค่า เบี่ยงเบนมาดราฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิดิใช้โปรแกรม SPSS For Windows Version 10 ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวชาวยุโรปเพศชายมาเที่ยวดลาดน้ำดำเนินสะดวก มากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับ มัธยมปลาย ประกอบอาชีพวิชาชีพอิสระ และมีรายได้เฉลี่ยด่อเดือนระหว่าง 1,250-2,000 ยูโร สิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เดินทางมาประเทศไทยคือ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แรงจูงใจในการมาท่องเที่ยวดลาดน้ำดำเนินสะดวกมากที่สุดคือ เพื่อชมวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ และบรรยากาศที่ตลาดน้ำ สำหรับกิจกรรม ณ ตลาดน้ำที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปได้ทำมากที่สุด คือ เดินชมบริเวณรอบ ๆดลาดน้ำดำเนินสะดวกและบริเวณชุมชนริมน้ำ แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ นักท่องเที่ยวได้รับมากที่สุดคือ บริษัทนำเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีความพึงพอใจต่อการ จัดการการท่องเที่ยวด้านคุณลักษณะทางกายภาพโดยรวมในระดับมาก และมีความพึงพอใจ ด้านดวามสวยงามและเป็นเอกลักษณ์มากที่สุด สำหรับด้านการบริการ ให้ความพึงพอใจกับการ บริการของมัคอุเทศก็มากที่สุด ส่วนการสอบถามความคิดเห็นในการเดินทางมาท่องเที่ยวตลาด น้ำดำเนินสะดวกซ้ำอีก นักท่องเที่ยวชาวยุโรปให้ความเห็นว่าไม่แน่ใจว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยว อีกหรือไม่ จากผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับปรุงปัจจัยพื้นฐานที่เป็นสิ่งอำนวย ความสะดวกของตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้แก่ ห้องน้ำ ถังขยะ มลภาวะทางอากาศ ทางเดินเพื่อ ชมบรรยากาศริมน้ำ ปรับปรุงความสะอาดของลำคลอง และความสะอาดของอาหารที่จำหน่าย การจัดระเบียบร้านขายของที่ระลึก การควบคุมผู้ประกอบการไม่ให้เอารัดเอาเปรียบนักท่อง เที่ยว และแสดงอัตราค่าบริการอย่างเปิดเผยให้นักท่องเที่ยวทราบ ดลอดจนการส่งเสริมชุมชน ให้ผลิตสินค้าหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์ของชุมชนมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9128
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
80301.pdf3.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons