Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9133
Title: ความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
Other Titles: The satisfaction of consumer's choices in private hospitals in Amphoe Muang Phrae, Changwat Phrae
Authors: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิธร กัวตระกูล, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
โรงพยาบาลเอกชน--ความพอใจของผู้ใช้บริการ--ไทย--แพร่
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษา ความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัดระดับความพึงพอใจและศึกษาความแตกต่าง ของความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เมื่อเข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก และ ผู้ป่วยใน ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคที่มาใช้บริการทางการแพทย์จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยนอกมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจทุก ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านกระบวนการให้บริการ ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ปัจจัยด้าน ราคา และ ด้านการ ส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการแพทย์ประเกท ผู้ป่วยในมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก คือ ด้านบุคลากร และด้านการให้บริการลูกค้า รองลงมาคือ ด้านสถานที่ให้บริการและช่อง ทางการจัดจำหน่าย ส่วนด้านราคา และ ด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับป่านกลางตาม ลำดับ จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการ แพทย์ประเภทผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในโดยใช้สถิติ t - test พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการ แพทย์ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในมีระดับความพึงพอใจ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้าน บุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับความ พึงพอใจ ในด้านราคา ด้านสถานที่ให้บริการและช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการ ตลาด และด้านการให้บริการลูกค้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9133
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
80298.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons