กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9133
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The satisfaction of consumer's choices in private hospitals in Amphoe Muang Phrae, Changwat Phrae
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ
ศศิธร กัวตระกูล, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
โรงพยาบาลเอกชน--ความพอใจของผู้ใช้บริการ--ไทย--แพร่
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษา ความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัดระดับความพึงพอใจและศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ เมื่อเข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก และ ผู้ป่วยใน ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่มาใช้บริการทางการแพทย์จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยนอกมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านกระบวนการให้บริการ ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ปัจจัยด้านราคา และ ด้านการ ส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการแพทย์ประเกทผู้ป่วยในมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบุคลากร และด้านการให้บริการลูกค้า รองลงมาคือ ด้านสถานที่ให้บริการและช่องทางการจัดจำหน่าย ส่วนด้านราคา และ ด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับป่านกลางตามลำดับ จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในโดยใช้สถิติ t - test พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในมีระดับความพึงพอใจ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับความพึงพอใจ ในด้านราคา ด้านสถานที่ให้บริการและช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการให้บริการลูกค้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9133
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
80298.pdf3.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons