กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9137
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้กรณีศึกษา บริษัท แซทเทิลไลท์ มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organization development to learning organization case study of Satellite Media International co.,Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ ศิริเพ็ญ พิทักษ์วรรัตน์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาองค์การ การเรียนรู้ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความคิดเห็นของพนักงานบริษัท แซทเทิลไลท์ มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่มีต่อการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ (2) เพื่อให้ทราบถึงระดับความคิดเห็นของพนักงานบริษัท แซทเทิลไลท์ มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่มีต่อการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัท แซทเทิลไลท์ มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ปฏิบัติงานอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงกันยายน 2546 จำนวน 210 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทางสถิติจำนวน 138 คน และทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของพนักงานบริษัท แซทเทิลไลท์ มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดที่มีต่อการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่าพนักงานของบริษัทฯ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในระดับสูงในทุก ๆ ด้าน โดยอันดับที่ 1 คือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อันดับ 2 คือ ด้านพลวัตรแห่งการเรียนรู้อันดับที่ 3 คือ ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล อันดับที่ 4 คือ การจัดการความรู้ และอันดับที่ 5 คือ การปรับเปลี่ยนองค์การ (2) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส และอายุการทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน (3) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ทำงานอยู่ในฝ่ายงาน พบว่าเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9137 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License