กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9148
ชื่อเรื่อง: | การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Trial in absentia in criminal case of the persons holding political positions |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ ณรงค์ ฮิเท้ง, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาความอาญา--ไทย นักการเมือง--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปด้วยความเป็นธรรม สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีความรอบคอบเที่ยงธรรมตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยเฉพาะการพิจารณาคดีโดยไม่มีตัวจำเลยรวมทั้งให้ทราบถึงหลักแนวคิด ทฤษฎี นิติรัฐ นิติธรรม หลักการ ดำเนินคดีอาญา หลักรัฐธรรมนูญ หลักการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองของต่างประเทศ หลักสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเพื่อวิเคราะห์ปัญหา การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของต่างประเทศกับประเทศไทย และเสนอแนวคิดการแก้ไขกฎหมายและข้อกำหนดของประเทศไทยให้เป็นธรรมตามหลักสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารทางนิติศาสตร์ ตำราทางวิชาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่าง ๆ วิทยานิพนธ์ทางกฎหมาย บทความทางวิชาการกฎหมาย และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า การใช้หลักการพิจารณาคดีอาญาโดยทั่วไปกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความแตกต่างกัน ควรนำหลักการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยมาใช้ไนการพิจารณาคดีกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีที่จำเลยหลบหนีไม่ยอมมาศาล เพราะถือว่าจำเลยปฏิเสธหรือสละสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีต่อหน้าตน สิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือผู้ช่วยเหลือทาง กฎหมายที่ตนเป็นผู้เลือก รวมทั้งสิทธิในการเผชิญหน้าและถามค้านพยาน ซึ่งการพิจารณาคดีอาญา ตามหลักการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองยอมรับให้มีการพิจารณาลับหลังจำเลย ได้ในฐานะเป็นข้อยกเว้นโดยต้องมีหลักประกันสิทธิในการต่อสัโต้แย้งของจำเลยไว้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกันทางกฎหมายด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9148 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_158414.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License