กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9152
ชื่อเรื่อง: | การจัดการความรูด้านการผลิตขาวอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Knowledge management of organic rice production by farmers in Lopburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา สาวิตรี พางาม, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | การบริหารองค์ความรู้ ข้าวอินทรีย์--การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา (1) สภาพการผลิตและกระบวนการผลิตช้าวอินทรีย์ (2) การจัดการความรู้ด้านการผลิตข้าวอินทรีย์ในระยะต้นน้ำ (3) การจัดการความรู้ด้านการผลิตข้าวอินทรีย์ในระยะกลางน้ำ (4) การจัดการความรู้ด้านการผลิตข้าวอินทรีย์ในระยะปลายน้ำ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ด้านการผลิตข้าวอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) แหล่งความรู้ที่เกษตรกรได้รับมากที่สุด จากสื่อบุคคล รองลงมา คือ สื่อกิจกรรมมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 10.32 ไร่ ร้อยละ 93.9 ใช้พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ผลผลิตเฉลี่ย 348.16 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,434.86 บาทต่อไร่ ประสบการณ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 2.10 ปี และมีการดำเนินการตามกระบวนกาวผลิตข้าวอินทรีย์มากที่สุด คือ ระยะต้นน้ำในประเด็นจัดการพื้นที่ (ขอบเขตพื้นที่)/กาวทำแนวป้องกันการปนเปื้อน รองลงมา คือ ระยะกลางน้ำในประเด็นการทำความสะอาดเครื่องจักรแปรรูปก่อนสีข้าว และแจ้งปริมาณข้าวที่จะสี (2) การจัดการความรู้ในระยะต้นน้ำมากที่สุด คือ การเรียนรู้ในประเด็นได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นประสบการณ์ใหม่ และได้ความรู้ใหม่ รองลงมา คือ ได้สร้างและแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ของกลุ่ม/เครือข่าย (3) การจัดการความรู้ในระยะกลางน้ำมากที่สุด คือ การเรียนรู้ในประเด็นได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นประสบการณ์ใหม่และได้ความรู้ใหม่รองลงมาคือ ได้สร้างและแสวงหาความรู้โดยเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา (4) การจัดการความรู้ในระยะปลายน้ำมากที่สุด คือ การเรียนรู้ในประเด็นได้นำความรู้ไปแก้ไขปัญหาในงานหรือพัฒนางานใด้มีประสิทธิกาพสูงขึ้น รองลงมา คือ เข้าถึงความรู้จากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดระบบความรู้ในระยะต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ น้อยที่สุด คือ การเก็บข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการจัดระบบความรู้ระดับปานกลางในประเด็นขาดการเก็บข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ รองลงมาปัญหาด้านการกำหนดความรู้ที่ต้องการระดับน้อยในประเด็นยังทราบกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์และวิธิการเก็บรักษาแปรรูปและบรรจุกัณฑ์ไม่ครบทุกข้อกำหนดข้อเสนอแนะควรส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์เจ้าหน้าที่และเกษตรกรควรมีการวางเป้าหมายและกำหมดความรู้ที่ต้องการร่วมกับก่อนนำมาถ่ายทอดความรู้และควรเปิดโอกาสให้เกษตรกรไปศึกษาดูงานเข้าอบรมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่ม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9152 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168459.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License