กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9156
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการแสวงหาพยานหลักฐานคดีการค้ามนุษย์ด้วยเทคนิคพิเศษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures for obtaining evidence in human trafficking cases by special techniques
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถํ้า
ชัชพล ชั้นประดับ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานหลักฐานคดีอาญา
การค้ามนุษย์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ความหมาย ประเภทและลักษณะของคดีการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ศึกษาหลัก กฎหมายเกี่ยวกับการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีการค้ามนุษย์ โดยเทคนิคพิเศษตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายในการแสวงหา พยานหลักฐานคดีค้ามนุษย์โดยเทคนิคพิเศษตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี เพื่อวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีการค้ามนุษย์โดยเทคนิคพิเศษ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีการค้ามนุษย์โดยเทคนิคพิเศษตาม พระราชบัญญัดีป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ.2551 ให้มีความเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยการศึกษา ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำรากฎหมาย บทความ วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลฎีกา ตลอดจนเอกสาร สิ่งพิมพ์และสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหา พยานหลักฐานโดยเทคนิคพิเศษในคดีการค้ามนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มิได้บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเภทข้าราชการพลเรือนสามัญระดับสามซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และขาดสภาพบังคับในทางกฎหมาย ไม่มีการกำหนดโทษทัณฑ์แก่ผู้ฝ่าฝืนการบังคับใช้เทคนิคพิเศษ ไม่ครอบคลุมถึงการร้องขอใช้เทคนิคพิเศษในการแสวงหาพยานหลักฐานในกรณีฉุกเฉิน และขาดมาตรการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการใช้อำนาจแสวงหาพยานหลักฐานโดยเทคนิคพิเศษ ควรปรับปรุงโดยการบัญญัติหลักเกณฑ์การให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน รวมถึงกำหนดบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการแสวงหาพยานหลักฐานโดยเทคนิคพิเศษ กับทั้งบัญญัติให้มี การใช้เทคนิคพิเศษในกรณีฉุกเฉินและกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบการใช้อำนาจด้วยเทคนิคพิเศษ ดังกล่าว เพื่อให้การแสวงหาพยานหลักฐานด้วยเทคนิคพิเศษของพนักงานเจ้าหน้าที่เกิดประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของผู้เกี่ยวข้องน้อยที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9156
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_158607.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons