กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9176
ชื่อเรื่อง: การนำระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาของศาลทั่วไป
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Inquisitorial system with the criminal proceedings in the courts of justice of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า
ณคุณ ศรีดุษฎี, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไต่สวนมูลฟ้อง
การสืบสวนคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการพิจารณาคดีอาญาของศาล เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างเหมาะสม และสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้นำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขว่าศาลควรจะมีอำนาจในการค้นหาความจริงด้วยตนเองมากน้อยเพียงใด เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน และป้องกันการดำเนินคดีแบบสมยอมกัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาค้นคว้าและรวมรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยการศึกษาค้นคว้าจากตำราหนังสือทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย คำพิพากษาฎีกา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ผลการศึกษาพบว่า การที่ศาลใช้ระบบกล่าวหา ในการพิจารณาคดีอาญา ทำให้การค้นหาความจริงมีข้อจำกัด เนื่องจากหากศาลถูกจำกัดอำนาจในการค้นหาความจริง จะส่งผลให้คู่ความอาจดำเนินคดีแบบสมยอมกัน โดยไม่นำสืบข้อเท็จจริงบางเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญในการพิจารณาคดี แม้จะมีพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และทนายความที่มีส่วนในการนำสืบข้อเท็จจริงก็ตาม แต่หากมีการตกหล่นในการสืบข้อเท็จจริงบางเรื่อง จะทำให้การพิจารณาคดีไม่มีประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาคดีอาญา เนื่องจากเป็นคดีที่มีโทษเกี่ยวกับอิสรภาพของบุคคล จึงเห็นควรให้ค้นหาความจริงสามารถทำได้อย่างกว้างขวาง โดยใช้ระบบไต่สวนเข้ามาผสมผสานกันมีส่วนร่วม ในการพิจารณาคดีมากยิ่งขึ้นทำให้มีศาลเข้ามามีบทบาทในการค้นหาความจริงร่วมกับพนักงาน อัยการ และทนายความ ทำให้สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีได้ชัดเจนมากขึ้น แต่ต้องจำกัดอำนาจของศาลบางประการเพื่อทำให้การพิจารณาคดีไม่เอียนเอียงเข้าฝ่ายใด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9176
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_159577.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons