กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9184
ชื่อเรื่อง: | มาตรการพิเศษในการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Special measures in solving the problems of juvenile delinquency |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถํ้า ธีรยุทธ สุทธิวารี, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด สาเหตุ ของการกระทำความผิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ แนวทางการแก้ไขบำบัดฟืนฟู รวมทั้งมาตรการพิเศษ แทนการดำเนินคดีอาญาที่นำมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด เพื่อเป็นการเบี่ยงเบน หรือหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมหลักนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่เป็นการยุติคดีโดยไม่ต้องมีการพ้องร้องคดีต่อศาล และยังเป็นการหาแนวทางและวิธีการในการแก้ไขปัญหา การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถกลับตนเป็นคนดีและสามารถ อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมจากหนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์สาระนิพนธ์งานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย รวมตลอดถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ยังมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบประวัติเด็ก และเยาวชนที่กระทำความผิดก่อนมีจัดทำแผนยังไม่ชัดเจน ปัญหาอำนาจในการพิจารณาการเข้าสู่ กระบวนการจัดทำแผน และปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่ได้กำหนดลักษณะและประเภทคดี ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติเพี่มเติมในเรื่องของกระบวนการและขั้นตอนของการตรวจสอบ ประวัติเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดให้ชัดเจนเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการเข้าสู่ กระบวนการจัดทำแผนตามมาตรา 86 บัญญัติเพิ่มเติมเรื่องให้บุคคลในครอบครัวของเด็กและเยาวชน ที่กระทำความผิด ผู้นำท้องที่หรือผู้นำชุมชนเข้ามามีอำนาจร่วมในการพิจารณาการเข้าสู่กระบวนการ จัดทำแผนตามมาตรา 86 และการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดลักษณะ และประเภทคดีในการนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีมาใช้ตามมาตรา 90 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9184 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_159579.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License