Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9189
Title: | การเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา |
Other Titles: | Remedy of the crime victim |
Authors: | ธีรเดช มโนลีหกุล ตรีสุดา ทองสุก, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้เสียหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการ แนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมาย วิเคราะห์ และเปรียบเทียบปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหาย ในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยเอกสารจากการค้นคว้าและรวบรวม จากตัวบทกฎหมาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยจะแบ่งเป็นตามขั้นตอนตั้งแต่การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในทางแพ่งระหว่างสอบสวนและในขั้นศาล และการใช้สิทธิเรียกค่าตอบแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีปัญหาเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา ประเด็นปัญหาที่พบในการวิจัย คือ การเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีที่มีการคืนทรัพย์ในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 หากมีการคืนทรัพย์สินที่สูญหายหรือจำเลยได้ไป เนื่องจากการกระทำความผิดแล้ว แม้ว่าทรัพย์จะมีสภาพความชำรุดหรือเสียหาย จะขอให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ได้และยังไม่ให้สิทธิผู้เสียหายในการตรวจสอบสำนวนคดีและการเรียกค่าเสียหายก่อนการพิจารณาคดี ของศาลทำให้ไม่สามารถนำเสนอพยานหลักฐานเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนของตนในขั้นสอบสวนได้ ส่วนพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทน และคำใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาตรา 22 กำหนดให้ผู้เสียหายจะต้องยื่นคำร้องขอให้จ่ายเงินค่าตอบแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหาย รู้ถึงการกระทำความผิด ระยะเวลาดังกล่าวไม่สามารถที่จะพิจารณาจ่ายเงินได้จริงเนื่องจากต้องรอคำพิพากษาของศาลก่อน ซึ่งประเทศเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่นให้สิทธิผู้เสียหายในการตรวจสอบสำนวนคดี และมีส่วนร่วมในการสอบสวน ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงค่าเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย จึงขอเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายให้ผู้เสียหายมีสิทธิเสนอพยานหลักฐานเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาได้อย่างครบถ้วน และมีสิทธิยื่นขอรับเงิน ค่าตอบแทนภายหลังจากศาลมีคำพิพากษา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9189 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_161071.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License