Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9211
Title: | การสื่อสารในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบแฟลชม็อบของนักศึกษา |
Other Titles: | Communication for social movements in student “flash mobs” model |
Authors: | สุภาภรณ์ ศรีดี สิโรธร มีปราชญ์สม, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิทยาธร ท่อแก้ว |
Keywords: | การสื่อสารทางการเมือง--ไทย การชุมนุมสาธารณะ--ไทย นักศึกษา--ไทย--กิจกรรมทางการเมือง. กลุ่มผู้ชุมนุม แฟลชม็อบ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบแฟลชม็อบของนักศึกษาเกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร และ 2) การจัดการการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการชุมนุมแฟลชม็อบของนักศึกษาโดยตรง ประกอบด้วยแกนนํานักศึกษา ทีมงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ผู้ปราศรัยซึ่งมาจากสมาชิกของกลุ่มที่มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางเพศ มีเชื่อมันในระบอบประชาธิปไตยสากล มุ่งต่อต้านระบอบเผด็จการ เป็นผู้ที่มีทักษะการพูดในที่ชุมชน มีนํ้าเสียงและลีลาการพูดที่ ดึงดูดใจผู้รับสาร มี ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ นํามาใช้ในการสื่อสาร (2) สาร มีประเด็นหลัก คือ ความเท่าเทียมกันทางสังคม สิทธิเสรีภาพ ผลเสียของ นายกรัฐมนตรีที่สืบทอดอํานาจมาจากเผด็จการ และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ (3) ช่องทางการสื่อสาร ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลัก ได้แก่ เฟซบุ๊กเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพจเยาวชนปลดแอก – Free YOUTH เพจเสรีเทยพลัสเพจ Mob Fest ทวิตเตอร์@ThammasatUFTD @FreeYOUTHth @MobFest_TH @freegender_th อินสตาแกรมthammasatuftd freeyouth.ig mobfest_th เทเลแกรม @THAMMASATUFTD REDEM และ REDEM: DISCUSSION(4) ผู้รับสารเป็นนักศึกษาที่สนใจในประเด็นการเมืองและข้อเรียกร้อง ซึ่งมีทั้งเป็นผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมและไม่เข้าร่วมการชุมนุม 2) การจัดการการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) การศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสาร ด้านช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารการชุมชน ปัญหาสภาพแวดล้อมทางการเมือง คือ กระแสสนับสนุนการขับไล่นายกรัฐมนตรีและการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ (2) การวางแผนงานการสื่อสารก่อนจัดการชุมนุมโดยมุ่งเน้นการสื่อสารเพื่อสร้างการจดจําข้อเรียกร้องและการขยายผลการเผยแพร่ผานสื่อมวลชน การโน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการชุมนุม การเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการสลายการชุมนุม (3) การดําเนินการ มีการเผยแพร่สื่อเกี่ยวกับการนัดหมายการชุมนุมและข้อเรียกร้องเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีการแจ้งทางราชการเพื่อชุมนุมในที่สาธารณะ ติดตั้งอุปกรณ์ เวที เครื่องเสียง และปราศรัย (4) ประเมินผลการตอบรับการเข้าร่วมชุมนุม หากจํานวนไม่เป็นไปตามเป้าหมายจะเร่งระดมนักศึกษามาชุมนุมเพิ่มมากขึ้น หลังจากการชุมนุมแล้วมีการประเมินผลความพึงพอใจและข้อเสนอแนะทางออนไลน์ด้วย Google Form |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9211 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168517.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License