กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9231
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเปรียบเทียบกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดีอาญาของศาลต่างประเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal issues in the trial of the supreme court's criminal division for persons holding political positions of Thailand compare with the trial of the foreign courts |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ ทรงเดช บุญธรรม, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายอาญาเปรียบเทียบ นักการเมือง--คดีอาญา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มา แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ศึกษากฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (4) ศึกษาและเสนอแนะวิธีการและแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร โดยผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจาก กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนด เอกสารราชการ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผลการศึกษาพบว่า (1) การพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยสามารถกระทำได้ภายใต้หลักการและเงื่อนไขการคุ้มครองสิทธิของจำเลยทำนองเดียวกับหลักการสากลในการพิจารณาคดีโดยไม่มีตัวจำเลย (Trial in Absentia) เพื่อการแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง(2)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 เป็นกฎหมายย้อนหลังซึ่งมีผลให้บุคคลต้องรับโทษจากการกระทำที่กฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นในภายหลังมิได้กำหนดให้เป็นความผิดต่อไปและประโยชน์ที่สาธารณะได้รับจากการใช้กฎหมายดังกล่าวย้อนหลังไม่มีคุณค่ามากพอที่จะทำลายคุณค่าของหลัก นิติรัฐ (3)ในการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์มีสถานะทางตุลาการสูงกว่าองค์คณะชั้นต้น เสมือนเป็นศาลที่สูงกว่า จึงมิใช่การทบทวนคำพิพากษาโดยศาลชั้นเดียวกันแต่ระบบการอุทธรณ์ที่ให้สิทธิแก่คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของคำพิพากษาและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลจากคำพิพากษานั้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9231 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_166517.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License