กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9249
ชื่อเรื่อง: การรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thepsatri Rajabhat University. Lopburi. students’ media literacy about the market communication strategies for alcoholic beverage products
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ล้อมชวการ
กานต์ เชื้อวงศ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กมลรัฐ อินทรทัศน์
คำสำคัญ: การสื่อสารทางการตลาด
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) ระดับการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) เปรียบเทียบการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษากลุ่มที่บริโภคและไม่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 4) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับการสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ผลการวิจัย 1) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบวา กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มคือทั้งกลุ่มที่บริโภคและกลุ่มที่ไม่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการเปิดรับการสื่อสารการตลาดจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง โดยสื่อที่เปิดรับสูงที่สุดได้แก่ (1) สื่อสังคมออนไลน์รองลงมาคือ (2) สื่อโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต และ (3) สื่อที่วางตั้งแสดงสินค้าพิเศษในร้านค้า 2) นักศึกษากลุ่มที่บริโภคและกลุ่มที่ไม่บริโภคมีระดับการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับปานกลาง 3) การเปรียบเทียบระดับการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่า กลุ่มตัวอยางที่บริโภคมีการรู้เทาทันการสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระดับอารมณ์และความรู้สึกและระดับสุนทรียภาพน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่บริโภค ส่วนระดับการรับรู้และความเข้าใจและระดับศีลธรรมอยู่ในระดับเดียวกันกับกลุ่มที่ไม่บริโภค และ 4) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษากลุ่มที่บริโภคและกลุ่มที่ไม่บริโภค มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้ง 4 ระดับได้แก่ (1) ระดับการรับรู้และความเข้าใจ (2) ระดับอารมณ์และความรู้สึก (3) ระดับสุนทรียภาพ และ (4) ระดับศีลธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9249
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168511.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons