กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9261
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารในการส่งเสริมความมั่นคงของชาติของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication for promoting national security by the 45th Mobile Development Unit, Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กานต์ บุญศิริ สอและ นางา, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิทยาธร ท่อแก้ว |
คำสำคัญ: | การสื่อสาร ความมั่นคงแห่งชาติ--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในการส่งเสริมความมันคงของชาติของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 จังหวัดสตูลเกี่ยวกับ 1) สภาพปัญหาการสื่อสาร 2) รูปแบบการสื่อสารและ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสารไม่มีความถนัดในการใช้ภาษาใต้ภาษายาวีกับกลุ่มเป้าหมาย และขาดความรู้ความเข้าใจงานการประชาสัมพันธ์ จัดลําดับประเด็นและข้อมูลประกอบการอธิบายไม่ชัดเจน (2) เนื้อหาที่มีความเป็นทางการ และใช้ศัพท์วิชาการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (3) ช่องทางการสื่อสารโดยการเข้าไปพูดคุยเป็นรายครัวเรือนและรายกลุ่มโดยไม่มีสื่ออื่น ๆ ประกอบ (4) ผู้รับสารเป็นรับสารเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้มีส่วนร่วมในคิดอยางเป็นระบบ 2) รูปแบบการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) การสื่อสารภายในมีการใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สื่อสารกบประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในแต่ละโครงการโดยเน้นข้อมูลโครงการและผลที่ประชาชนจะได้รับ (2) การสื่อสารภายนอกผ่านสื่อมวลชน เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์โดยเน้นการทําหน้าที่ของหน่วยงานในการช่วยเหลือประชาชนเพื่อความมันคง สําหรับการสื่อสารผ่านกิจกรรมโครงการโดยมุ่งเน้นกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาการเกษตร สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็น และการสร้างสังคมสันติสุข 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) พัฒนาทีมผู้ส่งสารด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสื่อสารชุมชน การใช้ภาษาถิ่น การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน จิตวิทยามวลชน การสร้างสัมพันธ์กับชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วม การพัฒนากิจกรรมเชิงรุกที่มีความยังยืนกับกลุ่่มเป้าหมาย (2) พัฒนาวิธีการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่โครงการและสาธารณชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยให้ผู้รับสารที่เป็ นกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ผลิตเนื้อหาไปยังผู้รับสารอื่นๆ เกี่ยวกบรายละเอียดโครงการและผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากโครงการและกิจกรรมของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 ในการร่วมพัฒนาชุมชนเพื่อความมันคงของชาติ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9261 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168518.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License