กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9292
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสายงานสนับสนุนของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในเขตศูนย์ปฏิบัติการด้านแรงงานสัมพันธ์ภาคกลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Job satisfaction of supports officers in Labour Protection and Welfare Office of the Central Region Labour Relation Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดลพร บุญพารอด, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณภาภัช ทัณทะรักษ์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสายงานสนับสนุนของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในเขตศูนย์ปฏิบัติการด้านแรงงานสัมพันธ์ ภาคกลาง (2) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสายงานสนับสบุนของสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในเขตศูนย์ปฏิบัติการด้านแรงงานสัมพันธ์ภาคกลาง จำแนกตาม คุณลักษณะส่วนบุคคล (3) เสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในเขตศูนย์ปฏิบัติการต้านแรงงานสัมพันธ์ภาคกลาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลบุคลากรสายงานสนับสนุนของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในเขตศูนย์ปฏิบัติการต้านแรงงานสัมพันธ์ภาคกลาง จำนวน 18 จังหวัด และใช้ประชากรทั้งหมดเป็นตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวและ การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสายงานสนับสนุนของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในเขตศูนย์ปฏิบัติการด้านแรงงานสัมพันธ์ภาคกลางมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเพื่อนร่วมงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านงานที่รับผิดชอบ ด้านนโยบายกรม/หน่วยงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ต้าน ได้แก่ ด้านโอกาสความก้าวหน้า และด้านผลตอบแทน ตามลำดับ (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานโดยภาพรวม พบว่า อายุ ระยะเวลาในการทำงาน วุฒิการศึกษา รายไต้ตำแหน่งบัจจุบัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามเพศ พบว่า มีความพึงพอใจในการทำงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางในการเพึ่มประสิทธิภาพในการทำงานควรมีการ พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นไปด้วยความยุติธรรม จัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพร้อมใช้งานอยู่เสมอ จัดจำนวนบุคลากรเพียงพอเหมาะสมกับภารกิจฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างสมาเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9292
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151753.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons